ประวัติกิจกรรมบำบัด
ประวัติความเป็นมาของกิจกรรมบําบัด
ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มีทหารบาดเจ็บและพิการเป็นจํานวนมาก ส่งผลให้ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้ด้วยตนเอง วิชาชีพกิจกรรมบําบัดจึงเกิดขึ้น โดยมุ่งให้ความสําคัญต่อการฝึกความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันด้วยตนเอง ก่อให้เกิดสถาบันต่างๆ ทางกิจกรรมบําบัด ขึ้น เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2451 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน Chicago และ Marblehead ได้มีการอบรม บุคลากรในโรงพยาบาลเกี่ยวกับงานฝีมือในผู้ป่วยโรคจิต ในปี พ.ศ. 2458 มีการจัดตั้งโรงเรียน กิจกรรมบําบัดแห่งแรกที่ Chicago ชื่อ " Henry P. Evill School of Occupation’’ และปีพ.ศ. 2473 ในประเทศอังกฤษมีการจัดตั้งโรงเรียนกิจกรรมบําบัดแห่งแรก ที่ศูนย์บําบัดผู้ป่วยโรคจิตประสาท ใน Briston จนขยายออกไปทั่วประเทศจํานวนมากกว่า 14 แห่งงานกิจกรรมบําบัดได้แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก มีการก่อตั้งสมาพันธกิจกรรมบําบัดโลก ( World Federation of Occupational Therapists : WFOT) ขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 โดยการริเริ่มของ 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนาดา, เดนมาร์ก, อินเดีย, อิสราเอล, นิวซีแลนด์, อาฟริกาใต้, สวีเดน, อังกฤษและอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์กว่า 60 ประเทศ
ในประเทศไทย วิชาชีพกิจกรรมบําบัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ฝน แสงสิงแก้ว ได้นําเอางานอาชีพต่าง ๆ เช่น งานทอ งานไม้ มาให้ผู้ป่วยจิตเวชทํา เพื่อส่งเสริมการรักษา และเรียกการรักษาแบบนี้ว่า “งานอาชีวบําบัด” โดยในระยะแรก เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยที่มีทักษะงานฝีมือมาทํางานด้านนี้ และต่อมาได้รับสมัครผู้ที่จบจากวิทยาลัย อาชีวศึกษาเข้าทํางานในแผนกอาชีวบําบัดใน ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่อาชีวบําบัด บุคลากรเหล่านี้จะเป็น ผู้ที่มีความรู้ทางด้านงานช่าง งานฝีมือ การเรือน การเกษตร พลศึกษา ในปี พ.ศ. 2513 กองสุขภาพจิต ในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ กรมสุขภาพจิต) ได้ขอทุนรัฐบาลไทย เพื่อไปศึกษาต่อด้าน Occupational Therapy ในระดับปริญญาโท ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง นางสาวสุชาดา อรุณศรี เป็นผู้ได้รับทุนไปศึกษาต่อ จึงนับเป็นนักกิจกรรมบําบัดคนแรกของประเทศไทย หลังจากสําเร็จ การศึกษาได้กลับมาปฏิบัติงานที่กองสุขภาพจิต และได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่อาชีวบําบัดที่ปฏิบัติงาน ในกองสุขภาพจิตเป็นรุ่นแรก โดยมีการนําหลักการทางกิจกรรมบําบัดมาใช้ปฏิบัติงานในแผนกอาชีวบําบัดมากขึ้น งานกิจกรรมบําบัดหรืออาชีวบําบัดในผู้ที่หย่อนสมรรถภาพทางด้านร่างกายเริ่มต้นที่ โรงพยาบาลศิริราช โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน เป็นผู้ก่อตั้งหน่วยอาชีวบําบัดขึ้นในปี พ.ศ.2499 เพื่อบําบัดฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรมกระดูก และมีการจัดอบรมทางด้านอาชีวบําบัดแก่เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลประจําจังหวัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และมีเจ้าหน้าที่อาชีวบําบัดปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถึงแม้งานด้านนี้จะมีมานาน แต่ก็ยังไม่มี การผลิตนักวิชาชีพที่มีความรู้เฉพาะทางขึ้น มีเพียงผู้ผ่านการอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรเจ้าหน้าที่ อาชีวบําบัดเท่านั้น และได้มีการจัดตั้งสมาคมอาชีวบําบัดแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาภายหลังได้รวมกับ สมาคมนักกิจกรรมบําบัดแห่งประเทศไทยเป็น สมาคมนักกิจกรรมบําบัด/อาชีวบําบัดแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2517 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง สาขาวิชาอาชีวบําบัดขึ้น มีผู้รับผิดชอบโครงการคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัยโรจน์ แสงอุดม คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์เทอดชัย ชีวะเกตุ เป็นหัวหน้า โครงการฯ โดยในระยะแรกการจัดหาอาจารย์จะรับจากผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกายภาพบําบัดและทางการพยาบาล และมีการส่งอาจารย์ที่มีรายชื่อต่อไปนี้ คือ นายณรงค์ สุขาบูรณ์ นางสาวอรพรรณ วิญญูวรรธน์ นางสาวพิมพ์อําไพ โภวาที นางสร้อยสุดา วิทยากร นางสาวพรทิพย์ ธีรสวัสดิ์ และนางมยุรี เพชรอักษร ไปรับการศึกษาอบรมต่อต่างประเทศในหลักสูตร Occupational Therapy เพื่อที่จะได้สามารถจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา และให้บริการแก่ผู้ป่วยได้ ในปี พ.ศ. 2523 จึงมีการเปลี่ยนชื่อจาก “ภาควิชาอาชีวบําบัด” เป็น“ภาควิชากิจกรรมบําบัด” และเริ่มเปิดรับ นักศึกษารุ่นแรกจํานวน 10 คน นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยใน ขณะนั้นที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชากิจกรรมบําบัด หลังจากนั้นเปิดรับนักศึกษาจํานวนเพิ่มขึ้นตามลําดับ
ในปี 2539 ภาควิชากิจกรรมบําบัดได้มีการขอตรวจรับรองมาตรฐานของหลักสูตรกับ WFOT ซึ่งกรรมการด้านวิชาการของ WFOT ได้รับรองหลักสูตรกิจกรรมบําบัดของภาควิชากิจกรรมบําบัด ในการประชุมที่ประเทศเคนยาในปีเดียวกัน ในปีพ.ศ. 2530 ได้มีการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพเป็น “ชมรมกิจกรรมบําบัด” ขึ้นที่กองเวชศาสตร์ ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ โดยมีนางสาววลัยพร สุดจินดา เป็นประธานชมรมคนแรก มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบําบัด ต่อมาปีพ.ศ. 2536 เปลี่ยนชื่อเป็น “ชมรมนักกิจกรรมบําบัดแห่งประเทศไทย” และย้ายที่ทําการไปที่ภาควิชากิจกรรมบําบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดทําวารสารกิจกรรมบําบัดและจัดงานวิชาการเผยแพร่ ความรู้ทางกิจกรรมบําบัดแก่ชุมชน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ทางชมรมฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมวิชาชีพชื่อ “สมาคมนักกิจกรรมบําบัดแห่งประเทศไทย” (The Occupational Therapists Association of Thailand) ต่อมาได้มีการรวมกับสมาคมอาชีวบําบัดแห่งประเทศไทย และเปลี่ยนชื่อภาษาไทยเป็น “สมาคมนักกิจกรรมบําบัด/อาชีวบําบัดแห่งประเทศไทย” เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในสายงานนี้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้ หลังจากนั้น ในปีพ.ศ. 2545 สมาคมฯ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกและได้รับการรับรองจาก WFOT ในที่ประชุม Council Meeting ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศ สวีเดน ในปีพ.ศ. 2545 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกากําหนดให้สาขากิจกรรมบําบัดเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการ ประกอบโรคศิลปะพ.ศ.2542 พ.ศ.2545 ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2545 และมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบําบัด เพื่อทําหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและในปี พ.ศ. 2547 เริ่มมีการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา กิจกรรมบําบัดเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมาได้มีการจัดทําระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบําบัด พ.ศ.2548 ซึ่งถือว่าเป็น มาตรฐานทางวิชาชีพฉบับแรกที่มีการประกาศใช้ และในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2550 สํานักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้กําหนดให้มีสายงานนักกิจกรรมบําบัด และมีมติอนุมัติให้ปรับปรุงสายงานวิชาการอาชีวบําบัดเป็นสายงานนักกิจกรรมบําบัดได้โดยมีผลในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และได้รับการประกาศจากสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เป็นวิชาชีพเฉพาะโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ภาควิชากิจกรรมบําบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชากิจกรรมบําบัด ซึ่งรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2523 ต่อมาในปี
พ.ศ. 2549 ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขากิจกรรมบําบัด นับถึงปีการศึกษา 2552 ผลิตบัณฑิตได้จํานวน 770 คน และมหาบัณฑิตจํานวน 5 คน ในปีพ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขา กิจกรรมบําบัด ที่คณะกายภาพบําบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ ในปี 2553 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกายภาพบําบัด โดยมีการรับนักศึกษารุ่นแรกจํานวน 40 คน ซึ่งถือว่าเป็นการขยายการผลิตบัณฑิตอีกสถาบันหนึ่ง